เมนู

หลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็น
เหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.


ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ 5


(50) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า
นิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของ
สัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วยวัตถุ 5. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัย
อะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน บัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ 5.
58.1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวก
ในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ 5 ฉะนั้น จึงเป็นอัน
บรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วย
ประการฉะนี้.
59.2 สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่
จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพาน

ปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา เพราะกามเหล่านั้นแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก
ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับใจ ท่านผู้เจริญ เพราะ
อัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอัน
เป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
60.3 สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง
ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพานปัจจุบัน
อันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุว่า ปฐมฌานนั้นท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีวิตกวิจารอยู่ ท่านผู้เจริญ
เพราะอัตตานี้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีความ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
ของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
61.4 สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือ
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง
ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพาน
ปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเหตุว่า ทุติยฌานนั้นท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีปีติเป็นเหตุให้ใจ
เบิกบานอยู่ เพราะอัตตานี้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ เสวยสุขอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุ
นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อม
บัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการ
ฉะนี้.
62.5 สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะ
หรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น
มีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุ
นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเหตุว่า ตติยฌานนั้นท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยจิตยังคำนึงถึง
สุขอยู่ เพราะอัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขา เป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้
ฉะนั้นจึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มี
อยู่ ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
ของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ 5 นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
วาทะว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ สมณะ หรือ

พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ 5 นี้เท่านั้น หรือด้วย
อย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี. . ."
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วน
อนาคต มีความเห็นคามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าว
คำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ 44 นี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความ
เห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะ
หลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมกล่าวด้วยวัตถุ 44 นี้
เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน 44 อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี
มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีต
ทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ 62 นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์
ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
อนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยวัตถุ 62 นี้เท่านั้น หรือด้วย
อย่างใดอย่างหนึ่งใน 62 อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้ง
แห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว
ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้

เหตุนั้น ชัดและรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย
และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออก
ไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็น
จริงโดยชอบ.

จบทิฏฐิ 62

ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ


(51) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง
ด้วยวัตถุ 4 ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น
ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(52) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงด้วยวัตถุ 4
แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่
เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.